9

ต้นกำเนิดตระกูลอวงสามสาย (ตระกูลว่อง)

จากการสำรวจตะกูลอวงของเรามีอยู่ 3 สายด้วยกัน ในตำนานตระกูลและประวัติตระกูลทั่วไปมีการบันทึกไว้ว่า “สายตระกูลแซ่อวง คือสายอวงหมัง มีต้นกำเนิดเมื่อสี่พันปีก่อน   ตระกูลอวงหมังที่อาศัยอยู่อู่คางของมณฑลเจ้อเจียงในปัจจุบัน ถือเป็นคนรุ่นหลัง” (หมายเหตุ อวงหมัง เป็นชื่อเมือง คือเมืองอี๋ในสมัยชุนชิว เป็นชนรุ่นหลังของตระกูลฝางเฟิงซื่อ ที่เรียกว่าชีซื่อ ในยุคของอี๋ เซี่ย และซาง คือตระกูลอวงหมัง ในยุคโจว คือฉางตี๋ หรือเรียกว่าโซวหมาน อยู่ทางเหนือของเมืองลี่เฉิง มณฑลซานตงในปัจจุบัน)

อีกสายหนึ่งมาจากจีซื่อในยุคโจว ในตำราสำรวจตระกูลกล่าวว่า  สายรุ่นหลานของหลู่เฉิงกงไปกินเมืองที่อวง จึงถืออวงเป็นแซ่ (หมายเหตุ หลู่เฉิงกง เป็นบุตรชายของหลู่ซวนกง มีชื่อว่า เฮยโหง อยู่ในตำแหน่ง 18 ปี ได้รับพระราชทานนามว่า เฉิง เรียกว่า หลู่เฉิงกงในประวัติศาสตร์) เนื่องจากไปกินเมืองที่อวง ก็คืออวงหมังนั่นเอง
 

 

 

อีกสายหนึ่งมาจากตระกูลเวิงหรือองในตอนต้นของสมัยซ่งเหนือ ต่อมาได้ถือเป็นต้นกำเนิดของตระกูลอวงตามคำโบราณที่ว่า “หกกุ้ยเบ่งบาน ชื่อเสียงยาวนาน” ตระกูลอวงเจริญรุ่งเรืองที่อำเภอซี มณฑลอานฮุย ตามตำราสำรวจตระกูล หรือแซ่ได้บันทึกไว้ว่า “มีคนชื่ออวงหัวในสมัยถัง เป็นชาวจี้ซี เป็นผู้กล้าแต่วัยหนุ่ม สามารถยึดครองดินแดน 5 รัฐ ได้แก่ซวน หัง มู่ อู้ และเหยาไว้ครอบครองช่วงปลายของราชวงศ์สุย ตั้งตนเป็นอู๋อ๋อง ปกครองรัฐในครอบครองอย่างสงบเป็นเวลากว่า 10 ปี ระหว่างปีศักราชอู่เต๋อ พ่ายแพ้ต่อหวางสงตั้นจึงต้องยอมสวามิภักดิ์ รับการแต่งตั้งให้ดูแลด้านการทหาร 6 รัฐ ได้แก่ ซี ซวน หัง มู่ อู้ และเหยา และเป็นขุนนางตรวจราชการของรัฐซี ได้รับพระราชทานตำแหน่งเป็นเยี่ยกว๋อกง ถึงแก่กรรมที่เมืองฉางอาน

 คนที่แซ่อวงในรัฐดังกล่าว ต่างเป็นคนรุ่นหลังของอวงหัว มีลูกหลานที่เจริญรุ่งเรือง ส่วนตระกูลในมณฑลต่างๆ เช่น เจียงซี กุ้ยโจวจนถึงแถบฮกเกี้ยน และกวางตุ้ง เป็นต้น เป็นคนโยกย้ายมาจากอานฮุยเสียเป็นส่วนใหญ่

 

8
 
 
7

ตั้งแต่ราชวงศ์ถังเป็นต้นมา มีคนแซ่อวงที่มีชื่อเสียงเป็นจำนวนมาก เช่น อวงฉี่เฟิ่งที่ไปอยู่ในแต้จิ๋ว เป็นผู้เลื่องลือในด้านคุณธรรม มีการบันทึกไว้ในตำนานแต้จิ๋วว่า อวงฉี่เฟิ่ง มีชื่อรองว่าอู๋เผิง (หรือไหลอี๋ในตำนานแต้จิ๋ว) เป็นชาวอำเภออู๋ สอบได้ตำแหน่งบัณฑิตในศักราชว่านลี่ของสมัยราชวงศ์หมิง ดำรงตำแหน่งเป็นที่ปรึกษาฝ่ายขวาแห่งเจียงซี ไปตรวจราชการที่หนานยุ่ย พบเฉินเผิงก่อความวุ่นวาย ตั้งตนเป็นใหญ่ มีกำลังคนนับหมื่น จึงถูกอวงฉี่เฟิ่งจับไปประหารชีวิต ได้ดำรงตำแหน่งขุนนางผู้ใหญ่ฝ่ายซ้ายในมณฑลกวางตุ้ง

ตำนานแต้จิ๋วบันทึกไว้ว่า “อวงฉี่เฟิ่ง ชื่อรองว่าไหลอี๋ เป็นบัณฑิตอำเภออู๋ เป็นขุนนางที่เจี๋ยอี้ในศักราชว่านลี่ บรรเทาทุกข์ของประชาชน ปรับปรุงแก้ไขด้านการบริหารปกครอง ขณะอยู่ในตำแหน่ง ไม่มีคดีค้างคา และสอนหนังสือให้แก่นักเรียนในยามว่าง มีความมานะอุตสาหะ ทำให้เกิดบรรยากาศการศึกษาที่ดี มีศาลเฉพาะ”
 

 

 

สำหรับต้นกำเนิดคนแซ่อวงในแต้จิ๋วที่อยู่ทางด้านตะวันออกของกวางตุ้ง     ใน “คู่มือตระกูลอวงอำเภอเจี๋ยหยางเมืองแต้จิ๋วแห่งตำนานตระกูลผิงหยาง” ได้บันทึกไว้ว่า “อี้เหยากงเป็นคนต้นตระกูล มีชื่อรองว่ากานฉวน อาศัยอยู่ที่หมู่บ้านหย่งติ้งเอ้าซิ่งของฮกเกี้ยน ระหว่างปีศักราชฮ่องเต้ซุ่นตี้ในราชวงศ์หยวน ย้ายจากฮกเกี้ยนมาอยู่บ้านต้าพูจางซีของแต้จิ๋ว เมื่อมาถึงยุคหยวนเฮิงกง ซึ่งเป็นบุตรชายคนรอง (ตงฝาง) ของกวงเต๋อกง บรรพชนรุ่นที่ 3 ในปีหย่งเจิ้งของราชวงศ์ชิง ได้นำศพมารดาจากจางซีหลี่ไปฝังที่หมู่บ้านต้าหลัวของเจี๋ยหยาง (หรือกิ๊กเอี้ย) และตั้งรกรากอยู่ที่นั่น จึงถือเป็นต้นกำเนิดของตระกูลอวงในเจี๋ยหยาง โดยถือเหวยเหลียงกงซึ่งเป็นบุตรชายคนรองของหยวนเฮิงกงเป็นบรรพชนคนแรกของตระกูลอวงในเจี๋ยหยาง

ส่วนหมู่บ้านจิ่วโต่วปู้ในเจี๋ยหยาง (ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็นหมู่บ้านเหม่ยเต๋อ) ผู้ที่มาก่อตั้งหมู่บ้านคือฉีโหย่วกง บุตรชายคนที่ 3 ของซื่อขุยกง อันเป็นบรรพชนรุ่นที่ 7 ของสายเหวยเหลียงกง ฉีโหย่วกง มีชื่อรองว่าเต๋อชง มาสร้างหมู่บ้านเมื่อปีเกิงจื่อ (ค. ศ. 1660) ตรงกับปีที่ 17 ของฮ่องเต้ซุ่นจื้อ ราชวงศ์ชิง ฉีโหย่วกงเป็นคนเที่ยงตรง กล้าหาญชาญฉลาด สามารถต้านโจรผู้ร้ายได้ เป็นเสาหลักของครอบครัว เคยเขียนประวัติตระกูลผิงหยางด้วยตนเอง ทำให้ชนรุ่นหลังเข้าใจที่มาของสายต้นตระกูลต่างๆ เป็นอย่างดี ไม่เกิดความสับสน เมื่อฉีโหย่วกงได้ก่อตั้งหมู่บ้านแล้ว ทำงานอย่างสุดความสามารถ ทำให้สามร้อยปีที่ผ่านมา ชาวตระกูลอวงมีความเจริญรุ่งเรือง มีลูกหลานมากมายเรื่อยมา สำหรับคนที่ย้ายไปอยู่นอกประเทศจีน ก็คงมีจำนวนอีกมากมายพอสมควร


 

6